วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ฮาร์ดแวร์ (แก้)

บทที่ 2 ฮาร์ดแวร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์
คอมพิวเตอร์  หมายถึง เครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
          จากความหมายจะเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ 3 อย่าง คือ
          1) รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งเราเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลนั้นอาจจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
          2) ประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ วิธีการต่างๆ เหล่านี้ ทำได้โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
          3) แสดงผลลัพธ์ คือการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ
          1. ทำงานโดยอัตโนมัติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น โดยในโปรแกรมนั้นจะบอกขั้นตอน โดยละเอียดว่าจะให้อุปกรณ์ใดของคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรและทำอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
          2. ทำงานได้หลายด้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เอนกประสงค์ตามโปรแกรมที่กำหนด
          3. เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่างจากเครื่องจักรกลทั่วไป เพราะเครื่องจักรกลหรือเครื่องยนต์เมื่อทำงานต้องมีการเคลื่นไหวของชิ้นส่วนต่าง ๆ แต่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี และ ซีพียู ฯลฯ จะทำงานโดยไม่เคลื่อนไหวเลย
          4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล มาจากคำว่า ดิจิต หมายถึงตัวเลข เนื่องจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ จะถูกเปลี่ยนรหัสเป็นตัวเลขทั้งหมดก่อนที่เครื่องจะทำการประมวลผล จึงเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า "ดิจิตอลคอมพิวเตอร์"
          5. มีความรวดเร็วและถูกต้อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ถูกต้องและรวดเร็ว
          6. มีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ หน่วยความจำภายในมีหน้าที่เก็บโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลตามคำสั่งตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1) หน่วยรับเข้า  ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น
2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ
3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)
องค์ประกอบของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามหน้าที่การทำงานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยรับข้อมูล  หน่วยประมวลผลข้อมูล  หน่วยความจำ    และหน่วยแสดงผลข้อมูล

1.  หน่วยรับข้อมูล  ได้แก่
   - เมาส์ (Mouse)   เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งโปรแกรมให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622031590.jpg 






ที่มา : http://www.siamget.com/buyerguide/286


  - แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์


http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/62203ef7c.jpg
ที่มา : http://undocomputer.blogspot.com/2012/07/keyboard.html

2.  หน่วยประมวลผลข้อมูล  ได้แก่
   - CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล ประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแระมวลผล เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์


http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622038687.jpg
ที่มา  :  http://nutcomputer.blogspot.com/2011/05/cpu_22.html

3. หน่วยความจำ  
      หน่วยความจำจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง
      >หน่วยความจำหลัก จะแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ ดังนี้
         - หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่ถูกเห็บไว้จะหายหมด  เรียกหน่วยความจำนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM)

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622036e59.jpg
ที่มา  :  http://www.yupadeepai.com/unit034.php

         - หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน คือ หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลโดยไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า แม้ไฟฟ้าจะดับข้อมูลก็ยังอยู่ เรียกหน่วยความจำนี้ว่ารอม (Read Only Memory: ROM)

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622036663.jpg
ที่มา  :  http://www.yupadeepai.com/unit034.php

      >หน่วยความจำสำรอง  ใช้เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีที่เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่
         - ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ประเภทจานแม่หล็ก จะแบ่งเป็นวงรอบ เรียกว่า แทรค ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลายๆวง ถือได้ว่าฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์หลักในการเก็บรักษาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้มากและสามาระบันทึกข้อมูลทับได้หลายครั้ง
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/62203a88b.jpg
ที่มา  :  http://tipsyourcom.blogspot.com/2009_05_01_archive.html

         - ยูเอสบีแฟลชไดรว์ (USB Flash Drive) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บรักษาข้อมูลไว้ในชิปอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีลักษณะเบา เล็ก สามารถเก็บรักษาได้ง่าย สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง  มีชื่อเรียกหลากหลายตามลักษณะของเครื่องหมายการค้าของบริษัที่ผลิต เช่น แฮนดี้ไดรว์(Handy Drive)  ทรัมป์ไดรว์(Trumb Drive)  และเพนไดรว์(Pen Drive)

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622031131.jpg
ที่มา  :  http://www.speedcomputer.co.th/

4. หน่วยแสดงผลข้อมูล  ได้แก่
   - จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของข้อความ และรูปภาพ จะแสดงผลในขณะท่คอมพิวเตอร์ทำงานอยู่  ซึ่งผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะค้นเคยมากที่สุด จะมี 2 ประเภท คือ
         1. จอภาพแบบนูนหรือจอซีอาร์ที (CRT) มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์
         2. จอภาพแบบแบนกรือจอแอลซีดี (LCD) มีลักษณะบางและแบนกว่าจอแบบนูน มีรูปทรงสวยงามและทันสมัย
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622035ce7.jpg
จอซีอาร์ที (CRT)                                       จอแอลซีดี (LCD)
ที่มา  :  http://www.9engineer.com


   - ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่แสดงผลในรูปแบบของข้อมูลเสียง 
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/62203eeb7.jpg
ที่มา  :  http://www.comseven.com

   - เครื่องพิมพ์ (Printer)  ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปของสิ่งพิมพ์  เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้ปัจจุบันมี 4 ประเภท ได้แก่
         1. เครื่องดอตเมทริกซ์ (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ประเภทแรกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ มีขนาดใหญ่ เกิดเสียงดังขณะใช้งาน เครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูลบนกระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุดถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลาย ๆ  ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ
         2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์พ่นหมึก สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมากๆ  รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์  คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็น การพ่นหมึกหยดเล็กๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้ แต่มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดัง
         3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเบบเดียวกันกับเครื่อง ถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ  ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุเมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร  การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง 
         4. พล็อตเตอร์ (plotter) พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/622036a97.jpg
เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์                                          เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
       
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/04/62203dcc4.jpg
เครื่องพิมพ์เลเซอร์                                                       พล็อตเตอร์


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เป็นต้น
2. ประมวลผลข้อมูล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วจะทำการประมวลผลตามคำสั่ง หรือโปรแกรมที่กำหนด อุปกรณ์ทีทำหน้าที่ประมวลไผลได้แก่ CPU
3. แสดงผลข้อมูล (Output) เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลคือ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
4. จัดเก็บข้อมูล  คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แฟลชไดรว์
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/03/62203d160.jpg
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์


ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์  Hard Disk  เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมากระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์
        แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์ 
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/Harddisk.jpg


     เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่

แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด



      ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วยเพื่อให้สามารถติดต่อกับ โลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล

ซีพียู Intel Pentium     ซีพียู Intel Celeron 
ซีพียู Intel Pentium III               ซีพียู Intel Celeron

แรม (RAsssssM) ใช้เก็บข้อมูลโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ชั่วคราว เพื่อรอส่งให้กับซีพียู  แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอรยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิกส์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/RAM.jpg


ซาวน์การ์ด (Sound Card) ตัวประมวลผลสัญญาณเสียงการ์ดเสียงในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แบบ FM Synthesis และแบบ Wavetable Synthesis การ์ดเสียงแบบ FM Synthesis นั้นเป็นการ์ดเสียงเทคโนโลยีเก่าที่มักจะใช้ชิพ OPL ของ YAMAHA ในการสร้างเสียง ซึ่งการ์ดเสียงชนิดนี้จะใช้การสร้างเสียงจากการสังเคราะห์เสียง หรือสร้างเสียงเลียนแบบเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ คุณภาพเสียงที่ได้อยู่ในชั้นดี แต่ความสมจริงคงจะไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับการออกแบบของการ์ดเสียงแต่ละตัว ในปัจจุบันการ์ดเสียง ชนิดนี้ยังเป็นที่นิยมอยู่ เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในการเล่นเป็นครั้งคราวหรือใช้ในงานมัลติมีเดียทั่วๆ ไป
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/page2_clip_image001_0006.gif

เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) อุปกรณ์จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆระบบไฟฟ้าของเพาเวอร์ซัพพลาย" ประสิทธิภาพและความมีเสถียรภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องคิดถึง เมื่อต้องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์สักครั้งหนึ่ง และอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันนั้น คือพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ที่เปรียบเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกายคนเรา
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/Power_Supply.jpg

ซีดีรอมไดรว์ (CD-Rom Drive) อุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมไดรว์ ได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไปแล้ว เนื่องจากแผ่นซีดีรอมนั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากและมีราคาถูก ซีดีรอมไดรว์จะมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อหรือการอินเตอร์เฟสก็จะมีทั้งแบบ IDE และแบบ SCSI เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้ยังแบ่งเครื่องซีดีรอมออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดอ่านได้อย่างเดียว ได้แก่ ซีดีรอมไดรว์ทั่วไปกับซีดีรอมไดรว์ประเภทที่ทำได้ทั้งอ่านและเขียนแผ่นซีดี ที่เรียกว่า ซีดีอาร์ ดับบลิว ไดรว์ในเครื่องซีดีรอมรุ่นแรกสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1X คือ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที และได้พัฒนาเรื่อยมาเป็น 2X, 3X, 4X จนในปัจจุบันสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 54 เท่าจากความเร็วเดิม มีหน่วยความจำขนาด 128KB สำหรับซีดีรอมไดรว์แบบ IDE และขนาด 512 KB สำหรับซีดีรอมไดรว์แบบ SCSI
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/Disk%20Drive.jpg
การ์ดแสดงผล (Display Card) อุปกรณ์ทำหน้าที่นำสัญญาณภาพส่งให้กับจอภาพ
Display Card (การ์ดแสดงผล)หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร 
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/display%20card.jpg

ประเภทของคอมพิวเตอร์
 1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีขนาดของความจำมาก ตั้งอยู่ในห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักในงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และงานอื่นๆที่มีการคำนวณซับซ้อน

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/03/62203afd6.jpg

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
ที่มา  :  http://www.toptenthailand.com/display.php?id=576


                2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ท่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลายร้อยคน จึงมักใช้ในองคืกรขนาดใหญ่

http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/03/622032351.jpg

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ที่มา  :  http://www.thaigoodview.com/node/10190

                3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักพบในองค์กรที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัยชี โดยนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายคน โดยมีการประมวลผลที่อยู่ส่วนกลาง แล้วส่งผลไปที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง


http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/03/62203a7c1.jpg

มินิคอมพิวเตอร์
ที่มา  :  http://www.tsu.ac.th/cst/course/computer_it/lesson3/lesson3-3.html

 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทีทั้งคอมพิวตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น       โน๊ตบุ๊ก เป็นต้น
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201209/03/622035a29.jpg

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ                                    คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
ที่มา  :  http://www.tsu.ac.th/cst/course/computer_it/lesson3/lesson3-3.html

การหาข้อมูลและราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สามารถเช็คได้จากเว็บไซด์ทั่วไป ราคาจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามต้นทุนที่เกิดจริง เว็บไซด์ที่สามารถเช็คราคาได้เช่น
http://www.jib.co.th/ 
http://tkcom99.com/ 
http://www.hwhinter.com/ 
           


เงื่อนไขในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เกือบทุกคนมีคอมพิวเตอร์ (พีซี) เป็นของตนเอง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีพีซีที่ตรงกับความต้องการของตนเอง เนื่องจากพีซีเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างแพง การตัดสินใจซื้อที่ผิดพลาดอาจทำให้คุณได้เครื่องพีซี ที่เกินความจำเป็นหรือประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าความต้องการจากนี้เราจะกล่าวถึงสิ่งที่ควรทราบขณะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในการเลือกซื้อที่ถูกต้อง และความผิดพลาดที่มักพบกับผู้ซื้อรายใหม่ราคาเทียบกับประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้จากส่วนต่างราคาระหว่างคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ศึกษาความต้องการของคุณเพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์ที่ไม่จำเป็นเพิ่มเติม เราสามารถช่วยคุณค้นหาพีซีที่เหมาะสำหรับคุณ ในขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ที่ลดราคามากเป็นพิเศษอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคุณเช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักเป็นรุ่นเก่าหรือใช้ส่วนประกอบราคาถูกหรือที่ล้าสมัย การจ่ายเงินมากกว่าจึงอาจทำให้คุณได้พีซีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก การเปรียบเทียบราคา การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ และพิจารณาความต้องการของตนเองจะทำให้คุณได้พีซีที่ลงตัวทั้งในด้านราคาและประสิทธิภาพในการทำงาน
     1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
      2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
      3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
      4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
      5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
            5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
          5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
      6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
      7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
          7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
          7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
          7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
          7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
          7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
          7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
          7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
      8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
      9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนประกอบต่อพ่วงและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่จำหน่ายพร้อมซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เมาส์และแป้นพิมพ์ ตรวจสอบกับร้านค้าก่อนจัดซื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์จำหน่ายพร้อมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดบ้าง จัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นและกำหนดงบประมาณให้ชัดเจนตามให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์หรือสายต่อเสริมตามความเหมาะสม คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำนักงานติดตั้งสำเร็จ ซึ่งคุณควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย
ส่วนประกอบของเครื่องส่วนประกอบต่างๆ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ การติดตั้งโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุดโดยติดตั้ง RAM ไม่เพียงพออาจทำให้โปรแกรมทำงานช้ากว่าที่ควร ตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เคสบางแบบอาจอัพเกรดได้ยาก ศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากำลังเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ และสามารถอัพเกรดได้ในอนาคตหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ
รองรับการทำงานในอนาคตการรองรับการทำงานในอนาคตในที่นี้หมายถึงการจัดซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่นขั้นสูงในอนาคต โดยปกติคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะมีราคาแพง ในระยะยาวขอแนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคามากที่สุด ในระยะยาวคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะคุ้มค่ามากกว่าการอัพเกรดทุก 6 เดือนหรือการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่

การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้กับหน้าต่างที่มีแสงแดดและฝนสามารถเข้าถึงได้
2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิร้อนจัด
3. ไม่ควรเปิดฝาเคสทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น
4.ไม่ควรวางจอมอนิเตอร์ไว้ใกล้กับแหล่งที่มีสนามแม่เหล็กหรือห้ามนำเอาแม่เหล็กมาไว้ใกล้ๆกับหน้าจอมอนิเตอร์
5. ไม่ควรใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่สภาพอากาศมีฝนตกฟ้าร้องถ้าจำเป็นต้องใช้ควรต่อไว้กับเครื่องสำรองไฟ (UPS)
6. ไม่ควรเปิดเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลานานๆขณะที่เราไม่ได้ใช้งาน
7. ควรเปิดใช้โหมดประหยัดพลังงานเพื่อกำหนดสถานะการใช้งานต่างๆเช่นกำหนดว่าถ้าไม่มีการตอบสนองใดๆกับคีย์บอร์ดหรือเมาส์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ปิดหน้าจอหรือเข้าโหมด Standby เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง
8. ไม่ควรวางแก้วน้ำไว้ใกล้กับบริเวณที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่
9. ไม่ควรปิดเครื่องโดยกดที่ปุ่มเพาเวอร์แต่ควรใช้คำสั่งปิด (Shutdown/Turn Off) ผ่านระบบ Windows แทน

10. ควรใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการสำรองกระแสไฟฟ้าและรักษาระดับของแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เช่น UPS เป็นต้น (ข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆ)


ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
http://maprang1996.blogspot.com/2012/08/blog-post_12.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น